พระสังกัจจายน์เป็นพระพุทธสาวกที่เป็นเอตทัคคะ1ใน41องค์ ที่มีความเฉลียวฉลาด มีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธเจ้า มีบารมี มีอิทธิฤทธิ์.... จึงเชื่อกันว่า ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์จะได้รับพรจากพุทธสาวก อันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์ ........ และพระสังกัจจายน์ จะอำนวยพรให้แก่ผู้ที่ได้บูชาและครอบครองให้ มั่งมี ศรีสุข อุดมสมบูรณ์ด้วยลาภยศเงินทอง จากรูปร่างสมบูรณ์ เพราะไม่อด ผู้ใดมีครอบครองบูชาก็จะไม่อดเช่นกันค่ะ
ประวัติพระสังกัจจายน์นะคะ ....... ท่านเป็นลูกชายของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจายนโคตร ในแผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี ซึ่งก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตต่อจากบิดา..... มาวันหนึ่งพระเจ้าจัณฑปัชโชตได้รับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตพร้อมผู้้ติดตาม7คนไปทูลเสด็จพระพุทธเจ้ามายังกรุงอุชเชนี ซึ่งกัจจายนะปุโรหิตและผู้ติดตามได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ฟังพระธรรมเทศนาก็บรรลุอรหันต์ทั้ง ๘ คน........ หลังจากอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าไปแยังกรุงอุชเชนีตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายมา พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่า “ท่านไปเองเถิด เมื่อท่านไปแล้วพระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน” ........เมื่อพระสังกัจจายน์และคณะกลับมายังกรุงอุชเชนีและได้ประการสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ....... พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า พระสังกัจจายน์เป็นผู้ฉลาดในการอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร และนับจากนั้นมา ท่านก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ....
พระสังกัจจายน์เดิมทีเป็นผู้ที่มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง และเพราะรูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์ สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลส ....
การบูชาพระสังกัจจายน์จึงมีความเชื่อว่าจะนำพามาซึ่งสิริมงคล แต่ทั้งนี้ผู้บูชาต้องเป็นผู้ที่คิดดีทำดีนะคะ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล พระสังกัจจายน์ พระแห่งโชคลาภค่ะ และแม่หมอสาวคุยข่าวหุ้นก็มีคาถาบูชาพระสังกัจจายน์มาฝากเพื่อนๆกันด้วยนะคะ .......
ตั้งนะโม ๓ จบแล้วกล่าว คำบูชาพระสังกัจจายน์
กัจจานะจะมหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธะตัง พุทธัญจะ พุทธะสุภา สิตัง พุทธะตังสะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหม นะมุตตะโม ปิโยนาคะ สุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินิ จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ ฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น