ถ้าคุณอยากได้ข่าวฉบับเต็มก็สามารถขอมาได้ที่ e-mail: magicstocknews@gmail.com
หรือโทรมาที่ 086-8673392
ข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดรวบรวมมาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ อาทิเช่น หนังสือพิมพ์ สำนักงานข่าว
และบทวิเคราะห์ของโบรคเกอร์ต่าง ๆ ที่เผยแพร่สู่สาธารณะ
แนวโน้มลง(down trend)
- 1. ลักษณะเด่นของแนวโน้มลง มีหลัก2อย่างคือระดับราคาจะต้องมีการทำจุดต่ำสุดใหม่ และการตีกลับของราคา(รีบาวนด์)จะต้องทำหัวเตี้ยลง ( lower low and lower high ) ....... การลงของราคาหุ้นปกติจะไม่ใช่ลงไปเรื่อยๆ เพราะคนที่ขายไปในราคาสูงเมื่อราคาลงมา ก็ย่อมอยากกลับเข้ามาซื้อคืนบ้าง ราคาหุ้นเมื่อมีแรงซือ้เข้า ก็จะเกิดการ ตีกลับหรือรีบาวนด์(rebound) แต่การตีกลับก็จะไม่แรงพอที่จะสามารถกลับขึ้นไปที่เดิมได้ ..... ถ้าหุ้นตัวนั้นมีข่าวลบรออยู่อีก แรงขายก็จะกลับเข้ามาใหม่อีกครั้ง ....หุ้นขาลง จุดสังเกตุคือ ราคาจะมีการทำจุดต่ำสุดใหม่(new low) สลับกับการรีบาวนด์ ,,,,,, จากรูป จะเห็นว่าจุดที่12ต่ำกว่าจุดที่10 และจุดที่8 ตามลำดับ(lower low) ....และการรีบาวนด์แต่ละรอบหัวจะเตี้ยลง จุดที่11 ต่ำกว่าจุดที่9(lower high)
2. สัญญานขาย(sell signal) หุ้นแนวโน้มลง สัญญานขายจะอยู่ที่ระดับราคาที่ทำจุดต่ำสุดใหม่(new low) ในรูปก็ตรงลูกศรชี้อะค่ะ
- 3. แนวรับ-แนวต้าน(support - resistance) ในแนวโน้มลง แนวรับ คือ จุดที่ราคาหุ้นปรับตัวลงไปแล้วมีแรงรับเข้ามา (จุดที่8และจุดที่10) ........แนวต้าน คือจุดสูงสุดที่มีการตีกลับหลังจากที่ลงมาแรงในแต่ละรอบ (จุดที่9และจุดที่11) ...รวมไปถึง จุดที่เคยเป็นแนวรับเดิม ที่ราคาทะลุลงไป แนวรับเดิมนั้นก็จะกลับกลายเป็นแนวต้านใหม่ ( ระดับราคาจุดที่11)......ซึ่งสามารถอธิบายทางจิตวิทยาได้ดังนี้ค่ะ สมมุติเราซื้อหุ้นที่ราคาจุด8แล้วราคาหุ้นรีบาวนด์ขึ้นไปที่จุด9 เราหวังกำไรเยอะๆยังไม่ขาย ราคากลับลงมาใหม่ คราวนี้ทะลุต้นทุนเราลงไปอีกลงไปที่จุด10 ..... ความรู้สึกอยากกำไรเยอะจะหมดไป เหลือแต่ความรู้สึกไม่อยากขาดทุน เท่าทุนก็ยังดี .......ดังนั้นเมื่อราคาหุ้นตีกลับมาให้เท่าทุน(ไม่ต้องรอกำไรแล้ว เพราะหุ้นที่เราซื้อเริ่มมีข่าวลบ) ....นั่นคือเมื่อราคาหุ้นดีดกลับมาจากจุด10มาที่จุด11 แรงขายหุ้นจึงออกมาอีกรอบ ....จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมแนวรับเก่าในแนวโน้มลงจึงกลับเป็นแนวต้านใหม่ค่ะ
4. ธรรมชาติของหุ้นแนวโน้มลง
- เมื่อเริ่มลงใหม่ๆ คนจะไม่เชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นของแนวโน้มลง จะคิดว่าเป็นการปรับฐานในแนวโน้มขึ้น volumeการซื้อขายมักจะมากหรือที่เรียกว่าพีค ก่อนราคาหุ้นจะค่อยๆปรับลง
- ปัจจัยลบที่เข้ามายังไม่ชัดเจนในช่วงแรก และจะค่อยๆมากขึ้นตามลำดับ ทุกคนจะมองตลาดเลวร้าย(เกินไปรึเปล่า) หาข่าวดีไม่เจอ
- นักลงทุนหน้าใหม่ไม่มี หน้าเก่าก็ทยอยกันออกจากตลาดหรือที่เรียกว่าตลาดวายนั่นเอง
- เมื่อปลายทางของแนวโน้มลงใกล้จบvolume การซือ้ขายจะเบาบางลง
- 5. การทำกำไรในแนวโน้มลง เป็นแนวโน้มที่ เล่นยากสุด ทำกำไรได้น้อยสุด ความเสี่ยงสุงสุด เมื่อเทียบกับแนวโน้มอื่นๆ ชึ่งต้องฝีมือระดับเซียนจริงๆ ก่อนอื่นขอให้เพื่อนๆย้อนขึ้นไปดูรูปแนวโน้มลงด้านบนอีกครั้งนะคะ
- คนที่ทำกำไรได้ ในตลาดขาลง คือคนที่จ้องตอนราคาหุ้นลงแรงมาก ซี้อให้ได้ราคาต่ำสุดในแต่ละรอบ แล้วต้องขายให้ทันในช่วงที่ราคารีบาวนด์ขึ้นมา นั่นคือต้องซื้อที่จุด8ขายที่จุด9 หรือซือ้ที่จุด10ขายที่จุด11เท่านั้นค่ะ
- คนที่ไม่ขาดทุนก็คือคนที่ขายหุ้นทัน คือขายไปตั้งแต่จุดที่7 แล้วถือเงินสดไม่เข้าตลาดอีกเลยค่ะ
- นอกจากข้อ1และข้อ2 ปิดประตูเจอขาดทุนทุกกรณีเลยค่ะ แม้แต่กรณีที่ซือ้ได้ถูกในจุดที่8หรือจุดที่10 แต่ขายไม่ทันในช่วงรีบาวนด์ จากกำไรก็จะกลับเป็นขาดทุนทันทีค่ะ
6. ต้องติดตามการเปลี่ยนแนวโน้มอย่างใกล้ชิด สังเกตุง่ายๆ ถ้าSET หรือหุ้นตัวนั้นเริ่มจะไม่เข้า หลัก 2 อย่างในหุ้นแนวโน้มลงคือ เริ่มไม่มีการทำจุดต่ำสุดใหม่ ( ไม่ทำlower low ) หรือการรีบาวนด์แรงขึ้น มีการทำ หัวสูงขึ้นได้ ( higer high) .......ดอกจันท์3ดอกไว้เลยนะคะ เป็นนาทีทองของนักลงทุนเลย เพื่อนๆอาจซือ้หุ้นได้ในราคาต่ำสุดของแนวโน้มลง ซึ่งมีโอกาสกลับลำเป็นแนวโน้มขึ้นและก็จะขึ้นรถไฟเป็นขบวนแรก ของตลาดแนวโน้มขึ้นรอบใหม่ ....หรืออย่างน้อยๆถ้าไม่ใช่เปลี่ยนจากแนวโน้มลงเป็นแนวโน้มขึ้น เป็นได้แค่เปลี่ยนมาเป็นแนวโน้ม sideway ก็ถือว่า ซือ้หุ้นในราคาที่ downside risk หรือความเสี่ยงขาลงจำกัดละค่ะ
- จบการเล่นหุ้นตามแนวโน้ม ไป 2 แนวโน้มแล้วนะคะ เหลือแนวโน้มsidewayซึ่งไม่ยากแล้วละค่ะ ..... คอยอ่านต่อกันนะคะ บ๊ายบายค่ะ........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น