สวัสดีค่ะเพื่อนๆขา....

แม่หมอสาวคุยข่าวหุ้นยังคงเป็นเพื่อนร่วมทาง(การลงทุน)เพื่อนๆเหมือนเดิม โดยนำเสนอ หุ้นมีข่าว เช้าบ่าย ค่ำ อยู่เป็นเพื่อนกันตลอดวัน ตลอดคืน .......แถมวันเสาร์มีเสริมบารมีนักลงทุนมานำเสนอเพื่อความเฮงด้วยนะคะ .... ส่วนวันอาทิตย์เป็นความรู้เกี่ยวกับตลาดหุ้นในหัวข้ออ่านหมากตลาดหุ้นค่ะ .... สำหรับข่าวเรียลไทม์ ขอสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะสมาชิคเท่านั้นนะคะ ซึ่งเพื่อนๆสามารถติดต่อขอเป็นสมาชิคได้ที่ magicstocknews @gmail.com หรือ 086-8673392 ค่ะ


*

วันอาทิตย์

น้ำท่วมสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง

น้ำท่วมสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง...... และมีผลต่อนโยบายการเงินของ ธปท. วัฏจักรดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้นสิ้นสุดลงตามคาด.......  ผลการประชุม กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันที่ระดับ 3.5% ตามคาดการณ์ของตลาดและฝ่ายวิจัย นับเป็นการสิ้นสุดวัฏจักรนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างชัดเจน หลัง ธปท.ประกาศขึ้นดอกเบี้ยถึง 9 ครั้ง รวม 2.25% นับตั้งแต่เดือน ก.ค.2552 ที่ผ่านมา......  โดย ธปท.ระบุถึงความเสี่ยงด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจ หลังปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปยังยืดเยื้อและมีแนวโน้มลุกลามไปยังภาคสถาบันการเงิน ขณะที่ภาวะน้ำท่วมครั้งร้ายแรง ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายพื้นที่ต้องหยุดชะงัก.......  ทำให้เศรษฐกิจไทยใน 4Q54 มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าคาด

อย่างไรก็ตาม ผลการประชุม กนง.ในครั้งนี้มีมติไม่เป็นเอกฉันท์......  โดยมีคะแนนเสียงสนับสนุน 6 ต่อ 1 เสียง โดย 1 เสียงเสนอให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps เพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ....... สะท้อนว่าทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.ในอนาคตมีแนวโน้มเอนเอียงไปทางด้านผ่อนคลายมากขึ้น (Easing Bias) ....... ภาวะน้ำท่วมครั้งร้ายแรงสุดในรอบ 50 ปีสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างสถานการณ์น้ำท่วมได้พัฒนาเข้าสู่ขั้นวิกฤติและมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเข้าสู่หลายเขตพื้นที่ของ กทม. โดยล่าสุดมีรายงานว่าภาวะน้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ 62 จังหวัด, 6 นิคมอุตสาหกรรม, พื้นที่ทางเกษตรเสียหายราว 16.3 ล้านไร่ คิดเป็นมูลค่า 2.2 หมื่นล้านบาท, ประชากร 2.8 ล้านครัวเรือน หรือเกือบ 9 ล้านคนได้รับความเดือดร้อน และล่าสุดมีสถิติผู้เสียชีวิตสูงถึง 317 ราย และสูญหาย 3 คน เบื้องต้น

 ฝ่ายวิจัยประเมินว่าภาวะน้ำท่วมดังกล่าวจะสร้างความเสียหายรวม 1.0-1.5 แสนล้านบาท......  หรือคิดเป็น 1-1.5% ของ GDP ในปีนี้ โดยคาดว่าภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่ได้รับความเสียหายสูงสุด โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ คิดเป็น 51% ของมูลค่าความเสียหายรวม ตามด้วยภาคการเกษตรและภาคบริการที่คิดเป็น 27% และ 22% ของมูลค่าความเสียหายโดยรวม ตามลำดับ ........ ประมาณการ GDP ของฝ่ายวิจัยที่ 3.3% ได้สะท้อนผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมระดับปัจจุบันแล้วฝ่ายวิจัยได้มีการปรับลดประมาณการ GDP เพื่อสะท้อนผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา......  จากการปรับลดประมาณการการขยายตัวของภาคการบริโภค การลงทุนและการส่งออก โดย ประมาณการ GDP ปี 2554-2555 ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 3.3% และ 3.5% ตามลำดับ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อการปรับลดประมาณการต่ำ  หากสถานการณ์น้ำท่วมไม่รุนแรงกว่าระดับปัจจุบันและไม่เข้าสู่พื้นที่ กทม.ชั้นใน

อย่างไรก็ตามเชื่อว่านักวิเคราะห์หลายรายในตลาดอาจมีการปรับลดประมาณการตามมา ......ซึ่งอาจเป็นประเด็นกดดันการลงทุนได้ในช่วงสั้น ทั้งนี้ นักลงทุนควรติดตามการปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยของ ธปท.ในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า.......  เนื่องจากเป็นเครื่องบ่งชี้ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต รวมถึงความเชื่อมั่นของต่างชาติด้วยเช่นกัน แรงกดด้านเงินเฟ้อมีความเสี่ยงสูงขึ้นอย่างมีนัยยะ แต่เชื่อว่า ธปท.จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต ....... นอกจากภาวะน้ำท่วมได้สร้างความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจจริงแล้ว คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อแรงกดดันด้านเงินเฟ้อในระยะ 3-4 เดือนข้างหน้าด้วยเช่นกัน เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลน หรือ Supply Shock ในกลุ่มสินค้าเกษตร รวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภคบางประเภท

ฝ่ายวิจัยประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะทรงตัวใกล้ระดับ 4% ในช่วงที่เหลือของปี.......  (จากก่อนหน้าที่คาดว่าจะชะลอตัวลงเฉลี่ย 3.6% ตามราคาน้ำมันที่ปรับฐานและฐานดัชนีราคาที่สูงในปีก่อน).......  และคาดการณ์ว่า ธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม กนง.ครั้งสุดท้ายของปี คือวันที่ 30 พ.ย.นี้ และมีโอกาสสูงที่จะคงดอกเบี้ยต่อเนื่องที่ระดับ 3.5% ไปจนถึง 1H55.......  ภายใต้ความเสี่ยงขาลงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ทิศทางเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ หลังมาตรการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการผู้จบปริญญาตรีมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 และ 1 เม.ย. 2555 ตามลำดับ

ที่มา: บทวิเคราะห์ของฝ่ายวิจัย บมจ.หลักทรัพย์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

Powered By Blogger