สวัสดีค่ะเพื่อนๆขา....

แม่หมอสาวคุยข่าวหุ้นยังคงเป็นเพื่อนร่วมทาง(การลงทุน)เพื่อนๆเหมือนเดิม โดยนำเสนอ หุ้นมีข่าว เช้าบ่าย ค่ำ อยู่เป็นเพื่อนกันตลอดวัน ตลอดคืน .......แถมวันเสาร์มีเสริมบารมีนักลงทุนมานำเสนอเพื่อความเฮงด้วยนะคะ .... ส่วนวันอาทิตย์เป็นความรู้เกี่ยวกับตลาดหุ้นในหัวข้ออ่านหมากตลาดหุ้นค่ะ .... สำหรับข่าวเรียลไทม์ ขอสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะสมาชิคเท่านั้นนะคะ ซึ่งเพื่อนๆสามารถติดต่อขอเป็นสมาชิคได้ที่ magicstocknews @gmail.com หรือ 086-8673392 ค่ะ


*

วันเสาร์

เบนจามิน เกรแฮม ปรมาจารย์ด้านการลงทุน

กู๊ดมอร์นิ่งซันเดย์ค่ะเพื่อนๆนักลงทุน อ่านหมากตลาดหุ้นเช้านี้จะพาเพื่อนๆมารู้จักสไตล์การลงทุนของเบนจามิน เกรแฮมกันค่ะ ...... เพื่อนๆบางคนอาจไม่คุ้นชื่อท่านผู้นี้ แต่ถ้าเป็นผู้ลงทุนที่ลงทุนมาระยะเวลาหนึ่งย่อมต้องรู้จัก เพราะวอร์เรน บัฟเฟตต์  ซึ่งเป็น Value Investors ที่มีชื่อเสียงก้องโลก นำสไตล์การลงทุนของ เบนจามิน เกรแฮมมาใช้นะคะ  ว่าแล้วเรามาทำความรู้จักกับเบนจามิน เกรแฮมกันดีกว่าค่ะ

เบนจามิน เกรแฮมเป็นอาจารย์ของวอเรน บัฟเฟตต์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย..... และเป็นหนึ่งในผู้ที่เป็นแม่แบบของการลงทุนแบบเน้นคุณค่ายุคบุกเบิก บัฟเฟตต์ยังประกาศว่าที่เขาโด่งดังมาได้ถึงทุกวันนี้ ก็มาจากพื้นฐานที่เกรแฮมได้ปูไว้และถูกนำมาประยุกต์อีกต่อหนึ่ง หลายคนยกย่องให้เกรแฮมเป็น “The Father of Financial Analysis and Value Investing” และ “Dean of Wall Street”


 เบนจามิน เกรแฮม ไม่ได้เป็นคนร่ำรวยแต่กำเนิด ในทางตรงกันข้ามกลับอยู่ในครอบครัวที่มีปัญหาทางการเงิน......  ซ้ำมารดาซึ่งเข้า "เล่นหุ้น" ด้วยวิธีมาร์จินก็ประสบความขาดทุนอย่างหนักกับตลาดหุ้นนิวยอร์ค ดังนั้นเขาจึงโตมากับความหวาดระแวงในการลงทุน นี่ก็อาจจะเป็นเหตุให้เบนจามินหาวิธีลงทุนที่ค่อนข้างปลอดภัยด้วยการประเมินมูลค่าของกิจการที่นักลงทุนจะเข้าซื้อหุ้นนั่นเอง .... เบนจามิน เกรแฮม เสนอหลักการในการแบ่งประเภทของนักลงทุนออกเป็นสองแบบใหญ่ๆ คือ ประเภทปลอดภัยไว้ก่อน หรือพวกตั้งรับ ( Defensive Investor) และ  ประเภทบู๊ คือกล้าได้กล้าเสีย ( Enterprising Investor)  นักลงทุนทั้งสองประเภทนี้ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เป็นเหมือนตัวนักลงทุนเอง

เบนจามิน เกรแฮมคิดค้นทฤษฎีในการลงทุนด้วยการพิจารณาที่มูลค่าที่แท้จริงของกิจการ (Value หรือ Net Asset Value - NAV).......  ว่ามีค่าเป็นเท่าไรต่อหุ้น หากเราสามารถซื้อหุ้นนั้นได้ถูกกว่าค่านี้ ก็หมายถึงว่าสามารถซื้อได้ในราคาที่มีส่วนลด (เรียก Discount) และเขาเชื่อว่า ในระยะยาวแล้ว ราคาของหุ้นจะต้องปรับไปสู่ราคาที่เหมาะสมของมัน (อาจจะอิงกับ Book Value) เสมอ และนักลงทุนก็สามารถขายหุ้นนั้นออกไปในราคาที่มีกำไรจากส่วนต่าง 


เบนจามิน เกรแฮมเป็นผู้เขียนหนังสือขายดี 2 เล่มที่บัฟเฟตต์แนะนำว่าเป็นหนังสือที่ผู้ลงทุนทุกคนต้องอ่าน......  คือ “The Intelligent Investor” และ “Security Analysis” หลักการลงทุนของเกรแฮมเน้นที่การวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัทซึ่งลงทุนโดยพิจารณาจากผลประกอบการของบริษัทและเงินปันผลที่ได้รับเป็นหลัก.......  โดยสิ่งที่ผู้ลงทุนจดจำเกรแฮมได้ก็คือ ปรัชญาด้านการลงทุนของเขาที่เขามักจะพูดเสมอว่าประกอบขึ้นมาจากคำ 3 คำง่ายๆ ก็คือ กลยุทธ์การลงทุนอย่างปลอดภัย “Margin of Safety” - ถ้าแปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัว ก็ได้ใจความว่า “ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย = ราคาหุ้นที่สามารถเข้าซื้อได้โดยมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ”  เบนจามิน เกรแฮมได้สรุป กลยุทธ์การลงทุนอย่างปลอดภัย หรือ Margin of Safety ไว้ดังนี้ค่ะ

1. ลงทุนในบริษัทใหญ่ที่มียอดขายดี


2. ลงทุนในบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผล


3. ลงทุนในบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง มีกระแสเงินสดดี และมีภาระหนี้ต่ำ


4. ลงทุนในบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตอย่างยั่งยืน คือมีความมั่นคงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น


5. เน้นการวิเคราะห์อัตราส่วนราคา หรือ Price Multiples โดยดูจากค่า P/E โดยต้องมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี หรือ Price to Book ที่ควรต่ำกว่า 1.2 เท่า
 
เพื่อนๆจะนำ Margin of Safety ของ เบนจามิน เกรแฮมไปใช้ในการลงทุนบ้างก็น่าจะเข้าทีนะคะ .... วันนี้แม่หมอไปก่อนแล้วค่ะ เจอกันใหม่นะคะ บ๊ายบาย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

Powered By Blogger