สวัสดีค่ะเพื่อนๆขา....

แม่หมอสาวคุยข่าวหุ้นยังคงเป็นเพื่อนร่วมทาง(การลงทุน)เพื่อนๆเหมือนเดิม โดยนำเสนอ หุ้นมีข่าว เช้าบ่าย ค่ำ อยู่เป็นเพื่อนกันตลอดวัน ตลอดคืน .......แถมวันเสาร์มีเสริมบารมีนักลงทุนมานำเสนอเพื่อความเฮงด้วยนะคะ .... ส่วนวันอาทิตย์เป็นความรู้เกี่ยวกับตลาดหุ้นในหัวข้ออ่านหมากตลาดหุ้นค่ะ .... สำหรับข่าวเรียลไทม์ ขอสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะสมาชิคเท่านั้นนะคะ ซึ่งเพื่อนๆสามารถติดต่อขอเป็นสมาชิคได้ที่ magicstocknews @gmail.com หรือ 086-8673392 ค่ะ


*

วันเสาร์

5ธนาคารยักษ์ใหญ่คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้า

กู๊ดมอร์นิ่งซันเดย์ค่ะเพื่อนๆขา เผลอแป๊ปเดียวจะหมดปี2010กันแล้วนะคะ  ..... ว่าแล้วเศรษฐกิจโลกปีหน้าจะเป็นยังไงบ้างน๊า เพราะ ไทยแลนด์ก็เป็นเพียงประเทศเล็กๆ จะว่าไปก็เป็น Emerging Market ในแถบเอเซียประเทศนึงที่ยังคงต้องเคลื่อนไหวไปตามพลวัตรของเศรษฐกิจโลก ...... มิได้การ เห็นทีจะต้องไปตามรอยดูกันละว่ากูรูระดับโลกเค้ามองเศรษฐกิจปีหน้ากันยังไงบ้าง  ตามมาดูกับแม่หมอกันเลยนะคะ ว่าธนาคารขนาดใหญ่คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2011 เป็นอย่างไร

 โซซิเอเต้ เจเนอราล

ได้ปรับทบทวนแนวโน้มปี 2011 เพียงเล็กน้อย โดยยังคงคาดว่า เศรษฐกิจโดยรวมจะฟื้นตัวอย่างไม่สม่ำเสมอ "ประเทศตลาดเกิดใหม่บางประเทศเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ แต่ช่องว่าง ด้านผลผลิตยังคงอยู่ในระดับสูงในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อ อยู่ในระดับต่ำ .....  ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)  จะผ่อนคลายนโยบายต่อไปโดยผ่านทางมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)   ส่วนธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะเลื่อนเวลาในการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกไป ...... ขณะที่ประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ จะยังคงถอนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และประเทศตลาดเกิดใหม่ที่ เติบโตเร็วในเอเชียจะปรับขึ้นค่าเงินด้วย

 โกลด์แมน แซคส์

คาดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริง ของโลกอาจขยายตัว 4.6 % ในปี 2011 และ 4.8 % ในปี 2012 ซึ่งบ่งชี้ว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะอยู่สูงกว่าแนวโน้ม 3 ปีติดต่อกัน.......  โดยตัวเลข ที่ GSคาดการณ์จะอยู่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์รวมที่ 4.1 % สำหรับปี 2011 และ อาจอยู่สูงกว่าตัวเลขรวมของปี 2012 ด้วย ........ ถึงแม้ GSจะคาดการณ์ในทางบวกต่อจีดีพีโลก แต่ก็มีความเห็นสอดคล้อง กับการคาดการณ์รวมในเรื่องภาวะเงินเฟ้อ โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ แข็งแกร่งและอัตราเงินเฟ้อที่ระดับปานกลางทำให้คาดว่า กำลังการผลิตส่วนเกินยังคงอยู่ในระดับสูงในเศรษฐกิจโลก.........  อย่างไรก็ดี แต่ละประเทศมีความแตกต่างกันอย่างมากในเรื่องนี้  โดยช่องว่างด้านผลผลิตที่ระดับสูงในประเทศพัฒนาแล้ว ได้ชดเชยขีดจำกัด ทางการผลิตในประเทศตลาดเกิดใหม่บางประเทศ ซึ่งถึงแม้ GSจะคาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อของประเทศพัฒนาแล้วในระดับที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์รวม แต่ก็คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของประเทศตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่ในระดับ ที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์รวม ...... "ถึงแม้ GSคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในทางบวก แต่ก็มองว่า มีความเสี่ยงช่วงขาลงบางประการอยู่ด้วยเช่นกัน โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ที่สุดคือปัญหาทางการคลังหลังวิกฤตการณ์โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งความเสี่ยง ด้านนโยบายอาจส่งผลให้การลงทุนแบบเสี่ยงสูงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากกว่าปกติ

ยูบีเอส

"เศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มฟื้นตัวเป็นส่วนใหญ่ โดยหลังจาก ขยายตัวราว 4.1 % ในปี 2010 เศรษฐกิจโลกก็อาจเติบโต 3.7 % ในปี 2011 และ 3.8 % ในปี 2012 ......... "ในบรรดาประเทศพัฒนาแล้วนั้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มชะลอการเติบโตมากที่สุด โดยอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะดิ่งลงราว ครึ่งหนึ่งจาก 3.5 % ในปีนี้ สู่ 1.4 % ในปี 2011 ....... "มีแนวโน้มว่าประเทศตลาดเกิดใหม่อาจชะลอตัวบ้างเช่นกัน โดยอัตราการเติบโตของประเทศตลาดเกิดใหม่จะชะลอลงจาก 6.2 % ในปี 2010 สู่ 5.6 % ในปีหน้า ก่อนจะเข้าสู่เสถียรภาพที่ 5.7 % ในปี 2012    ........  "ปัจจัยลบทางเศรษฐกิจมาจากวิกฤติสินเชื่อและการปรับปรุงงบดุล รวมทั้งจากการที่เศรษฐกิจได้รับแรงหนุนน้อยลงจากสินค้าคงคลัง ซึ่งบ่งชี้ว่า
เศรษฐกิจโลกไม่มีแนวโน้มที่จะลดกำลังการผลิตส่วนเกินลงได้มากนัก หลังจากที่ เคยเพิ่มขึ้นในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย "ด้วยเหตุนี้ กำลังการผลิตส่วนเกินในตลาดแรงงานและผลิตภัณฑ์ จึงมีแนวโน้มลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง จะยังคงเผชิญกับการลดลงของอัตราเงินเฟ้อ"

 แบงก์ ออฟ อเมริกา-เมอร์ริล ลินช์

"ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจ, นโยบาย และตลาดในปี 2011 คือช่องว่างที่ขยายกว้างมากยิ่งขึ้นระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับตลาดเกิดใหม่.......  โดยคาดว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างมากจะยังคงส่งผล ให้เกิดช่องว่างในด้านอื่นๆด้วย "ถึงแม้ตลาดเกิดใหม่ส่วนใหญ่มีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในเชิงบวก แต่วิกฤติธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ก็ส่งผลให้เกิดช่องว่างด้านผลผลิตอย่างรุนแรง และต่อเนื่องในสหรัฐ, ญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งเรียกรวมกันว่ากลุ่ม Big Three ...... คาดว่าประเทศส่วนใหญ่จะมีเศรษฐกิจเติบโตในระดับแนวโน้ม ในปีหน้า โดยการขยายตัวดังกล่าวเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตลาด เกิดใหม่ร้อนแรงจนเกินไป อย่างไรก็ดี สิ่งนี้หมายความว่ากลุ่ม Big Three จะเติบโตขึ้นอย่างเชื่องช้ามาก ....... "ช่องว่างนี้จะส่งผลให้แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมีความแตกต่างจากกัน เป็นอย่างมาก โดยตลาดเกิดใหม่บางประเทศจะประสบภาวะเงินเฟ้อ ....... ส่วนกลุ่ม Big Three จะประสบกับภาวะเงินฝืดหรือมีโอกาสสูงที่จะประสบกับภาวะเงินฝืด "ช่องว่างนี้จะส่งผลให้แต่ละประเทศใช้นโยบายที่แตกต่างกันต่อไป โดยกลุ่ม Big Three จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากและมียอดขาดดุลงบประมาณสูง ส่วนตลาดเกิดใหม่จะควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณและ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย "ความแตกต่างกันด้านปัจจัยพื้นฐานและนโยบายจะส่งผลให้มีเงินทุน จำนวนมากไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้บางตลาด ประสบภาวะฟองสบู่ ในขณะที่ตลาดอื่นๆขาดแคลนเงินทุนต่อไป ....."ภาวะไม่สมดุลอย่างต่อเนื่องในเศรษฐกิจโลกก่อให้เกิดความเสี่ยง บางประการ ซึ่งรวมถึงภาวะฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์และสินค้าโภคภัณฑ์, การถอนนโยบายผ่อนคลายก่อนเวลาอันควร และความตึงเครียดด้านการค้า และสกุลเงิน"

สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด

"ปัจจัยพื้นฐานมีความแตกต่างจากกันเป็นอย่างมากในแต่ละประเทศ และสิ่งนี้จะดำเนินต่อไปในปี 2011 ซึ่งถึงแม้แนวโน้มพื้นฐานคือการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้น แต่การฟื้นตัวก็มีอัตราแตกต่างกันไป.......  โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลก จะมีขนาดจีดีพีเติบโตขึ้นจาก 62.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2010 สู่ 64.7 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2011   "ขนาดจีดีพีโลกได้กลับมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยแล้ว และมีแนวโน้มเติบโตต่อไป ส่วนการค้าโลกได้ฟื้นตัวขึ้นด้วยเช่นกัน และน่าจะขยายตัวต่อไปด้วย โดยหลังจากเศรษฐกิจโลกเติบโต 3.7 % ในปีนี้ .......คาดว่าอาจขยายตัว 2.9 % ในปี 2011 และ 3.4 % ในปี 2012 "ถ้าหากเปรียบเทียบเศรษฐกิจโลกเป็นแก้วบรรจุน้ำแล้ว ก็มองว่า ขณะนี้แก้วนี้บรรจุน้ำอยู่ 2 ใน 3  "แต่ในปี 2011 นั้น ความสนใจจะมุ่งไปยังพื้นที่ว่าง 1 ใน 3 ในแก้วน้ำนี้ ซึ่งได้แก่ชาติตะวันตก โดยในปี 2010 นั้น ประเทศตลาดเกิดใหม่ซึ่งครองส่วนแบ่ง 1 ใน 3 ของจีดีพีโลก กลับครองส่วนแบ่งสูงกว่า 2 ใน 3 ของการเติบโตของ เศรษฐกิจโลก และสิ่งนี้น่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2011 "เราคาดว่าเศรษฐกิจชาติตะวันตกอาจฟื้นตัวอย่างเฉื่อยชา ในขณะที่ เศรษฐกิจชาติตะวันออกจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน แต่ในอัตราที่ช้ากว่าปี 2010 "อุปสงค์ภายในประเทศคือตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ต้องจับตา
มอง"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

Powered By Blogger