ถ้าคุณอยากได้ข่าวฉบับเต็มก็สามารถขอมาได้ที่ e-mail: sucha888@gmail.com
ข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดรวบรวมมาจากแหล่งข่าวต่าง ๆ อาทิเช่น หนังสือพิมพ์ ข่าวหุ้น ทันหุ้น กรุงเทพธุรกิจ
และบทวิเคราะห์ของโบรคเกอร์ต่าง ๆ ที่เผยแพร่สู่สาธารณะ
- ยุคแรก ..... เป็นยุคที่ตลาดยังเปิดได้ไม่นานนัก นลท.รายใหญ่ในประเทศยังคงมีอิทธิพลต่อตลาด ถ้าใครเคยได้ยินชื่อราชาเงินทุน คงจะพอจำกันได้ มีการปั่นราคาหุ้นกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว โดยไม่คำนึงถึงพื้นฐานหรืออะไรทั้งสิ้น และก็เป็นธรรมดาเมื่อถึงเวลา สูงสุดคืนสู่สามัญนั่นเอง ......
- ยุคที่สาม...... เริ่มมีการศึกษาการวิเคราะห์ทาง เทคนิค หรือการเก็บสถิติ ราคา และปริมาณการซือ้ขาย และแปรผลออกมาเป็นรูปแบบของกราฟ โดยมีทฤษฏีแม่บทคือ DOWS Theory (ซึ่งจะเล่าให้ฟังในบทต่อๆไป)....
- ยุคปัจจุบัน ..... จากการที่ข้อมูลข่าวสารถึงกันอย่างแพร่หลายและรวดเร็วจึงเป็นการ mix กันระหว่าง
- 1.1 foreign หรือฝรั่ง
- 1.2. local fund หรือกองทุนไทย
- 1.3. proprietary trading หรือพอร์ตโบรกเกอร์
- 1.4.retail หรือรายย่อย .......
fundamental analysis บทวิเคราะห์ วิจัย ของโบรกเกอร์ต่างๆยังมาแรง เน้นการมองไปในอนาคตมากกว่ามองอดีต ที่มาแรงมากได้แก่บทวิเคราะห์ของ โบรกเกอร์สัญชาติฝรั่ง อาทิ UBS CS CLSA ML JPM เป็นต้น ........
technical analysis การวิเคราะห์ทางเทคนิค ก็ยังนิยมใช้ประกอบการพิจรณาปัจจัยพื้นฐานอยู่ ........
เทรนด์ตลาดต่างประเทศซึ่งเป็นปัจจัยทางจิตวิทยา และเป็นส่วนประกอบการพิจรณาเรื่องการเคลื่อนย้ายเม็ดเงิน ซึ่งปัจจุบันมีทั้งตลาดทุน ตลาดเงินและตลาดโภคภัณฑ์ .....
- โดยสรุป การเล่นหุ้นยุคนี้ต่างจากการเล่นหุ้น ยุคแรกที่เหมือนการปาเป้า ....... เพราะตลาดหุ้นยุค globalization ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญ การเคลื่อนย้ายเม็ดเงินรวดเร็ว และการวิเคราะห์ก็ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการลงทุนอยู่ ทั้งการวิเคราะห์พื้นฐานและเทคนิค รวมถึงเม็ดเงินที่จะนำพาให้เกิดแรงซือ้หรือแรงขายได้ ....... ทั้งนี้ควรระลึกไว้เสมอว่าตลาดเป็นสิ่งที่สะท้อนจิตวิทยามวลชน เป็นสิ่งที่ทุกคนคิดไม่ใช่เราคิดคนเดียว และราคาหุ้นก็เสมือนหนึ่งได้สะท้อนทุกอย่างไว้แล้วรวมกันทั้งปัจจัยพื้นฐานและความรู้สึกทางจิตวิทยา ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นๆ อะไรจะมีอิทธิพลกับตลาดมากกว่ากัน .......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น