สวัสดีค่ะเพื่อนๆขา....

แม่หมอสาวคุยข่าวหุ้นยังคงเป็นเพื่อนร่วมทาง(การลงทุน)เพื่อนๆเหมือนเดิม โดยนำเสนอ หุ้นมีข่าว เช้าบ่าย ค่ำ อยู่เป็นเพื่อนกันตลอดวัน ตลอดคืน .......แถมวันเสาร์มีเสริมบารมีนักลงทุนมานำเสนอเพื่อความเฮงด้วยนะคะ .... ส่วนวันอาทิตย์เป็นความรู้เกี่ยวกับตลาดหุ้นในหัวข้ออ่านหมากตลาดหุ้นค่ะ .... สำหรับข่าวเรียลไทม์ ขอสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะสมาชิคเท่านั้นนะคะ ซึ่งเพื่อนๆสามารถติดต่อขอเป็นสมาชิคได้ที่ magicstocknews @gmail.com หรือ 086-8673392 ค่ะ


*

วันเสาร์

มารู้จัก ฟิลลิป ฟิชเชอร์ กันหน่อยมั๊ยคะ

กู๊ดมอร์นิ่งซันเดย์ค่ะ เพื่อนๆที่น่ารักของแม่หมอ ..... เช้าสบายๆอย่างนี้ แม่หมอ มีเรื่องราวของเซียนหุ้นอินเตอร์มาฝากเพื่อนๆให้อ่านเล่นไว้เป็นต้นแบบการเล่นหุ้นกันด้วยละค่ะ  ....... ฟิลลิป ฟิชเชอร์  ชื่อนี้เพื่อนๆบางคนอาจไม่คุ้นเคย แต่ถ้าบอกว่า  วอเรน บัฟเฟต์เคยพูดอยู่เสมอว่าวิธีการลงทุนของเขานั้น 70% มาจาก เบนจามิน เกรแฮม  อีก 30%มาจาก ฟิลลิป ฟิชเชอร์  เพื่อนๆก็คงอยากรู้แล้วใช่มั๊ยคะว่า  ฟิชเชอร์คือใคร ..... เขาเป็นผู้ที่ได้เข้าซื้อหุ้นในบริษัท เท็กซัส อินสทรูเม้นต์ ในปี 1956 นานมากก่อนที่บริษัทนี้จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในปี1970 ราคาเมื่อเริ่มซื้อขายที่ 2.7 เหรียล และหลังจากนั้นราคาก็ขึ้นไปถึง 200 เหรียล เพิ่มขึ้น 7400% โดยที่ไม่เคยจ่ายปันผลเลย เขาได้รับผลตอบแทนที่สูงมากจากการลงทุนในบริษัทนี้


ฟิชเชอร์ มีวิธีการและแนวทางในการลงทุน( Methods and guidelines)อย่างไร เพื่อนๆอยากรู้กันแล้วใช่มั๊ยคะ .....  เริ่มต้นจากให้ความสนใจในหุ้นบริษัทใหม่ที่มีการเติบโต (Young growth stock)  และเพื่อให้ได้มาซึ่งความชัดเจน  ฟิชเชอร์บอกว่านักลงทุนควร

- อ่านข้อมูลทุกอย่างที่หาได้ ทั้งจากวารสาร รายงานของบริษัทหลักทรัพย์


- สนทนากับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นผู้จัดการ พนักงาน โดยเฉพาะกับผู้ป้อนวัตถุดิบ ลูกค้า คู่แข่ง


- เยี่ยมชม สถานที่ทำงานในจุดต่างๆของบริษัทเช่นโรงงาน สาขา ถ้าเป็นไปได้ ไม่ควรไปแค่สำนักงานใหญ่


- ก่อนที่จะซื้อหุ้นของบริษัทนั้นๆ จะต้องแน่ใจว่าสามารถตอบคำถามทั้ง15ข้อดังต่อไปนี้ได้


1.บริษัทนี้มีสินค้า หรือบริการที่มีศักยภาพทางการตลาด ที่สามารถทำยอดขายให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในอีกหลายๆปีข้างหน้าได้หรือไม่?

2.ผู้ บริหารของบริษัทมีแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ หรือขบวนการใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการขายสินค้า ในขณะที่สิ้นค้าชนิดเดิมก็ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง

3.การวิจัยและพัฒนาของบริษัทมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัท?

4.บริษัทนี้มีหน่วยงานขายที่อยู่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่?

5.บริษัทนี้มีกำไรขั้นต้นสูงหรือไม่ ?

6.บริษัทมีกลยุทธ์อะไรในการรักษาหรือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น?

7.บริษัทมีหน่วยงานแรงงานสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่?

8.ผู้บริหารภายในบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่

9.การจัดการของบริษัทมีความซับซ้อนหรือไม่

10.บริษัทมีการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุน และบัญชีดีแค่ไหน

11.บริษัทมีแนวทางในการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันอย่างไร

12.บริษัทมีทัศนะทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการทำกำไรของบริษัทอย่างไร?

13.ใน อนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้นั้น หากบริษัทต้องการเงินทุนด้วนการระดมทุนเพิ่มเพิ่มเพื่อสร้างการเติบโตให้สูง ขึ้น การที่มีหุ้นเพิ่มสูงขึ้นจะกระทบผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นมากน้อยอย่างไร?

14.ให้สังเกตว่า เมื่อยามที่กิจการไปได้ดีผู้บริหารของบริษัทยินดีที่จะพูดคุยอย่างตรงไปตรง มากับนักลงทุน แต่ในยามที่มีเหตูการเลวร้ายผู้บริหารจะหายตัวไปหรือไม่?

15.บริษัทมีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์หรือไม่


และฟิชเชอร์มีเหตุผลเพียงสามประการที่จะตัดสินใจขายหุ้นออกก็คือ


1. เกิดความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการวิเคราะห์หุ้นที่ซื้อมาแล้ว


2.บริษัทนั้นมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง15ข้างต้นได้เหมือนที่เคยเป็น


3. สามารถที่จะนำเงินลงทุนในบริษัทเดิมไปลงทุนในบริษัทอื่นที่สามารถสร้างผลตอบ แทนได้สูงกว่ามากๆ และก่อนจะตัดสินใจลงไปต้องแน่ใจว่ามีเหตุผลที่หนักแน่นพอ


ฟิชเชอร์บอกว่า ในการลงทุนนั้น การหยุดการสั่งซื้อมีความสำคัญพอๆกับการสั่งซื้อ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำจาก ฟิชเชอร์ ในเรื่องที่คุณไม่พึงกระทำ  ดังนี้

1. อย่าเน้นในเรื่องการกระจายความเสี่ยงมากจนเกินเหตุ

ที่ปรึกษาการลงทุนหลายๆคนและนักสื่อสารด้านการลงทุน ได้อธิบายความถึงข้อดีของการกระจายตวามเสี่ยง โดยยกเอาประโยคที่น่าสนใจและจดจำง่ายนี้ขึ้นมาพูดอยู่เสมอๆ “อย่าใส่ไข่หลายๆฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบเดียว”
............ อย่างไรก็ตาม ฟิชเชอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านใส่ไข่หลายฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบโน้นบ้างใบนี้บ้าง ก็ไม่แน่เสมอไปว่าไข่ทั้งหมดทุกฟองจะอยู่ในที่ปลอดภัยดี อีกทั้งยังยากต่อการเฝ้าติดตามดูไข่ทุกฟองนั้น........ฟิชเชอร์, เป็นผู้ซึ่งถือหุ้นไม่เกิน 30 ตัวเป็นอย่างมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของอาชีพ, มีคำตอบที่ดีกว่าดังนี้คือ

‘ให้เสียสละเวลาค้นคว้าและทำความเข้าใจบริษัทหนึ่งๆอย่างถ้วนถี่ และถ้าหากเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัทดังกล่าวเข้าเกณฑ์ 15 ข้อที่เขาตั้งเป็นเกณฑ์กำหนดไว้ครบถ้วน คุณควรที่จะลงทุนในปริมาณมากๆ’

ฟิชเชอร์ เห็นด้วยกับคำพูดของ มาร์ค ทเวน ที่ว่า “ใส่ไข่ทั้งหมดทุกฟองของคุณไว้ในตระกร้าใบเดียว และเฝ้าดูแลตระกร้านั้นให้ดี”

2. อย่าแห่ตามฝูงชน

การเฮโลไปกับฝูงชนโดยลงทุนในหุ้นที่กำลังอยู่ในความนิยม อย่างเช่น หุ้นกลุ่ม”นิฟตี้ ฟิฟตี้” (หุ้น 50 ตัวที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน)ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 หรือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ในช่วงปลายทศวรรษปี 1990 เป็นอันตรายต่อสุขภาพการเงินของคุณได้........ ในทางตรงกันข้าม การค้นคว้าหาข้อมูลในหุ้นกลุ่มที่ฝูงชนละเลยไม่ให้ความสนใจ ก็สามารถสร้างผลกำไรให้สูงมากๆได้ ...........
ครั้งหนึ่ง เซอร์ ไอแซ๊ค นิวตัน เคยพูดยอมรับอย่างเศร้าใจว่า เขาสามารถที่จะคำนวณการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆที่ตกมาจากท้องฟ้าได้ แต่กับความบ้าคลั่งของฝูงชนนั้น เขาไม่อาจจะทำได้ ฟิชเชอร์ เห็นด้วยอย่างจริงใจกับคำกล่าวนี้

3. อย่าคิดเล็กคิดน้อย

หลังจากได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง และคุณได้พบบริษัทที่คุณมั่นใจว่าจะเจริญเติบโตอย่างแน่นอนในช่วง 10 ปีข้างหน้า และราคาหุ้นปัจจุบันเสนอขายในราคาเหมาะสม คุณควรจะรอหรือละเว้นการลงทุนของคุณเพื่อให้ราคาลงมาต่ำกว่าที่เป็นอยู่ขณะนั้นอีกซักไม่กี่เพนนีดีกว่า?.......... ฟิชเชอร์ ได้เล่าเรื่องของนักลงทุนที่ชำนิชำนาญคนหนึ่ง ที่ต้องการจะซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งซึ่งในวันนั้นราคาหุ้นปิดที่ 35.5 เหรียญต่อหุ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนผู้นี้ตั้งใจว่าจะไม่ซื้อหุ้นตัวนั้นจนกว่าราคาจะลดลงมาอยู่ที่ 35 เหรียญ ซึ่งหลังจากวันนั้น หุ้นตัวนี้ไม่เคยมีราคาต่ำกว่า 35 เหรียญอีกเลย  ..... และต่อมาอีก 25 ปี มูลค่าของหุ้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 เหรียญต่อหุ้น นักลงทุนผู้นี้พลาดโอกาสที่จะได้ส่วนต่างราคาที่มากมายมหาศาลไปอย่างน่าเสียดาย เพียงแค่ต้องการประหยัดต้นทุนอีก 50 เซนต์ต่อหุ้น

แม้แต่ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ เอง ก็มักจะปล่อยให้เกิดความผิดพลาดทางจิตใจในแบบนี้เช่นกัน ........ บัฟเฟตต์ เคยเริ่มซื้อ วอลมาร์ท เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น แต่ก็หยุดซื้อเมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย บัฟเฟตต์ ยอมรับว่าความผิดพลาดอันนี้ทำให้ เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ สูญเสียกำไรที่ควรจะเป็นไปราว 1 หมื่นล้านเหรียญ ........ .แม้แต่นักทำนายผู้ปราดเปรื่องแห่งโอมาฮา ยังน่าได้รับประโยชน์จากข้อแนะนำของ ฟิชเชอร์ ข้อนี้ที่ว่า อย่าคิดเล็กคิดน้อย

 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.thaivi.com/   http://www.sarut-homesite.net/
 

2 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีค่ะ

    แวะมาทักทายนะคะ

    http://rattanapornnursinghome.blogspot.com

    ตอบลบ
  2. สวัสดีต่ะ ขอบคุณที่แวะมานะคะ

    ตอบลบ

ผู้ติดตาม

Powered By Blogger