สวัสดีค่ะเพื่อนๆขา....

แม่หมอสาวคุยข่าวหุ้นยังคงเป็นเพื่อนร่วมทาง(การลงทุน)เพื่อนๆเหมือนเดิม โดยนำเสนอ หุ้นมีข่าว เช้าบ่าย ค่ำ อยู่เป็นเพื่อนกันตลอดวัน ตลอดคืน .......แถมวันเสาร์มีเสริมบารมีนักลงทุนมานำเสนอเพื่อความเฮงด้วยนะคะ .... ส่วนวันอาทิตย์เป็นความรู้เกี่ยวกับตลาดหุ้นในหัวข้ออ่านหมากตลาดหุ้นค่ะ .... สำหรับข่าวเรียลไทม์ ขอสงวนสิทธิ์ให้เฉพาะสมาชิคเท่านั้นนะคะ ซึ่งเพื่อนๆสามารถติดต่อขอเป็นสมาชิคได้ที่ magicstocknews @gmail.com หรือ 086-8673392 ค่ะ


*

วันเสาร์

ประเด็นเงินเฟ้อกับตลาดหุ้นไทย

อ่านหมากตลาดหุ้น สัปดาห์นี้เราคงต้องมาดูกันในประเด็นเงินเฟ้อกันหน่อยละค่ะ ..... แหมก็เป็นประเด็นหลักที่พาตลาดหุ้นเอเซียหัวทิ่ม และม็ดเงินไหลออกนี่ค่ะ  ขนาดจีนยังต้องขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว2รอบ ตลาดไทยก็เป็นเพียงตลาดเล็กๆที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม TIPS ซึ่งแน่นอน เราก็ต้องโดนหางเลขเรื่องของปัญหาเงินเฟ้อลามทั่วเอเซียไปด้วยอะค่ะ ....... และวันนี้แม่หมอก็มีบทความดีๆ เกี่ยวกับเรื่องเงินเฟ้อ มาฝากเพื่อนๆ ลองอ่านดูนะคะ



เงินเฟ้อ – ความท้าทายสำคัญของเศรษฐกิจโลกปี 54
ถ้ายังจำกันได้ หนึ่งในคำถามที่หลายคนเคยถกเถียงกันมากเมื่อปีที่ผ่านมาก็คือ ตกลงแล้ว เราจะต้องกลัวปัญหาเงินเฟ้อหรือเงินฝืดมากกว่ากัน ซึ่งตอนนี้ ดูเหมือนกับว่าข้อถกเถียงเรื่องนี้ได้ยุติลงแล้วระดับหนึ่ง จากข้อมูลที่ออกมาจากประเทศต่างๆ คนกำลังกังวลใจเรื่องเงินเฟ้อเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงกว่าที่คาด นัยต่อเศรษฐกิจ ดอกเบี้ย การลงทุน และการออม จะเป็นอย่างไร

เดิมปัญหาอยู่ที่ Emerging markets ..... โดยเฉพาะเอเชียที่เศรษฐกิจขยายตัวดีมาก โดยเงินเฟ้อล่าสุดของจีนอยู่ที่ 4.6% เพิ่มขึ้นจาก 1.9% เมื่อ 1 ปีก่อนหน้า อินโดนีเซียอยู่ที่ 7.0% จาก 2.8% บราซิล 5.9% จาก 4.3%  อาร์เจนติน่า 10.9% จาก 7.7% และอินเดียแม้จะลดลงบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงที่ 8.3%

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เงินเฟ้อกำลังขึ้นทุกที่ ทั้งในสหรัฐ ยุโรป อังกฤษ ....... โดยเงินเฟ้อของสหรัฐในเดือนธันวาคม ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.5% จากที่เคยอยู่ในระดับ 1.1% มาครึ่งปี ทำให้ความกังวลใจว่าจะเกิดความเสี่ยงด้าน เงินฝืดได้เริ่มคลายลงไป ......ส่วนยุโรป เงินเฟ้อเดือนล่าสุดเพิ่มขึ้น 2.2% สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ตั้งไว้ที่ 2.0% เป็นครั้งแรก ทำให้ความกังวลใจเรื่องเงินเฟ้อเริ่มกลับมาอีกครั้ง ธนาคารกลางยุโรปจึงได้ส่งสัญญาณว่าสมดุลของความเสี่ยงเริ่มเปลี่ยนไป และอาจจะต้องคิดเรื่องเงินเฟ้อมากขึ้น ท้ายสุด อังกฤษ เงินเฟ้อเดือนล่าสุดเพิ่มเป็น 3.7%

เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมาจาก 3 ปัจจัยหลักๆ


1. ปัจจัยชั่วคราว ที่ส่งผลไม่นานนัก เช่น การขึ้นภาษีในบางประเทศ ดังกรณีของอังกฤษที่ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตรงนี้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1 ปี แล้วหมดไป

2. ราคาอาหารและสินค้าโภคภัณฑ์โลก โดยราคาอาหาร น้ำมัน และวัตถุดิบต่างๆ ปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งจากการเก็งกำไรของนักลงทุน จากความต้องการผลิตและจากความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยล่าสุด จีนบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้น 23% บริโภคทองแดงเพิ่ม 63% บริโภคฝ้ายและถั่วเหลืองเพิ่ม 18% เทียบกับเมื่อก่อนเกิดวิกฤต ซึ่งความต้องการผลิตและบริโภคที่เพิ่มขึ้นจริงในประเทศกำลังพัฒนานี้ ทำให้ธนาคารกลางยุโรปกังวลงว่า ราคาอาหารและสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนานกว่าที่ทุกคนคิด

3. ค่าเงิน ค่าเงินที่อ่อนค่าลงเทียบกับสกุลต่างๆ ตรงนี้ บางประเทศ เช่น จีน ฮ่องกง ที่ผูกติดค่าเงินไว้กับสหรัฐ ซึ่งอ่อนค่าลงด้วยกัน จะมีปัญหานี้มากกว่าประเทศอื่นๆ

มองไปข้างหน้า ปัญหาเงินเฟ้อยังไม่จบลงง่าย...........  เอเชียยังน่ากังวลใจ โดยเฉพาะจีน ซึ่งแม้เงินเฟ้อจะดีขึ้นบ้างในเดือนล่าสุด หลายคนคิดว่าดีขึ้นชั่วคราวเท่านั้น และต่อไปอาจจะขึ้นไปถึง 6% ส่วนในยุโรป และอังกฤษเอง ก็คิดว่าปัญหาก็อาจจะมีความต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง โดยเงินเฟ้อของอังกฤษอาจเพิ่มเป็น 5% ก่อนลดลงมา

เงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้นเช่นนี้ นับเป็นความท้าทายของประเทศต่างๆ และมีนัยอย่างน้อยใน 3 ด้าน


1. ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ อาจจะต้องเข้มงวดเรื่องนโยบายการเงินมากขึ้น โดยล่าสุด ธนาคารกลางของยุโรปขู่ว่าดอกเบี้ยยุโรปอาจจะขึ้นหลังจากกลางปีถ้าเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น (ตรงนี้ คงตั้งชั่งน้ำหนักระหว่างเงินเฟ้อกับการฟื้นตัวของยุโรปที่ยังซึมๆ อยู่) ส่วนธนาคารกลางในเอเชียอาจต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คิด

2. การลงทุน อาจจะต้องย้ายออกจากการลงทุนในพันธบัตรและเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยไม่มากนัก ไปสู่การลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็น Real Assets เช่น สินค้าโภคภัณฑ์ มากขึ้น

3. ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่จะเพิ่มขึ้นจากจีน โดยการต่อสู้เรื่องเงินเฟ้อของทางการจีน ที่เศรษฐกิจดูเหมือนกับจะร้อนแรงกว่าที่คาด คงจะใช้เครื่องมือในทุกรูปแบบเพื่อดูแลเงินเฟ้อ ซึ่งท้ายสุดถ้าจะได้ผล ก็ต้องชะลอเศรษฐกิจของจีนลงมา และจะมีนัยต่อประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เพราะจีนมีความสำคัญมากในเอเชียต่อทุกคน ทั้งด้านการส่งออก ค่าเงิน รวมไปถึงราคาหลักทรัพย์ และความเชื่อมั่นของต่างชาติในภูมิภาค

เรียกได้ว่าสำหรับปีนี้ เงินเฟ้อเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องจับตามอง
ขอขอบคุณที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำวันที่ 26 ม.ค. 54 คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร.กอบ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

Powered By Blogger